บริษัท บริทาเนีย จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย ได้ดำเนินธุรกิจอยู่ภายใต้กรอบของธรรมาภิบาลที่ดี ตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาธุรกิจควบคู่ไปกับการสร้างสมดุลทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ บริษัทฯ ตั้งมั่นที่จะดำรงตนให้เป็นบริษัทที่เป็นแบบอย่างที่ดีของสังคม (Good Corporate Citizen) ในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน และสามารถบริหารกิจการให้เติบโตอย่างมั่นคงและเป็นที่ยอมรับในสังคมบนพื้นฐานของจริยธรรมและหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี รวมทั้งสามารถสร้างผลตอบแทนให้กับผู้ถือหุ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบในการดำเนินธุรกิจที่มีต่อผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับบริษัทฯ ในทุกด้าน ครอบคลุมทั้ง 3 มิติ (ESG) ได้แก่ มิติสิ่งแวดล้อม มิติสังคม และมิติบรรษัทภิบาลและเศรษฐกิจ ภายใต้แนวคิด Growth together เติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน
เพราะบริทาเนียเชื่อว่า สิ่งที่มากกว่าสร้างที่อยู่อาศัย คือ สร้างให้การอยู่อาศัยสามารถอยู่ร่วมกันกับสังคมรอบข้างและสิ่งแวดล้อมที่ดี เกิดเป็นสังคมคุณภาพที่ยั่งยืน จึงเกิดแนวคิดในการดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคม โดยการที่จะสร้างให้เกิดขึ้นได้ ต้องเริ่มจากการสร้างพนักงาน หรือเรียกว่า คน B CRAFTER ให้มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ใช้แกนการขับเคลื่อนด้วย BRI HEARTMADE คือ รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ให้ลงมือทำอย่างจริงใจ ไม่ใช่แค่เพื่อตัวเอง แต่เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของลูกบ้าน แต่จะมองกว้างขึ้น มองถึงผู้มีส่วนได้เสียของบริษัท (ลูกค้า คู่ค้า ผู้ถือหุ้น หน่วยงาน) โดยทำอย่างมีความเข้าใจ จนใส่ใจ และจะให้ใจ ซึ่งจะทำให้บริษัทฯ เติบโตได้ไกล ต่อเนื่อง และมั่นคง
  1. การประกอบกิจการด้วยความเป็นธรรม

    กำหนดแนวทางในการดูแลผู้มีส่วนได้ส่วนเสียไว้ในจรรยาบรรณทางธุรกิจ ส่งเสริมการแข่งขันทางการค้าอย่างเสรีและเป็นธรรม หลีกเลี่ยงการดำเนินการที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์และการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญารวมถึงการต่อต้านการทุจริตทุกรูปแบบ

  2. การต่อต้านทุจริตคอร์รัปชั่น

    ดำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใสและตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นทุกรูปแบบ จึงได้มีการกำหนดนโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติเพื่อป้องกันและต่อต้านปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นให้ชัดเจน

  3. การเคารพสิทธิมนุษยชน

    คำนึงถึงความเสมอภาคและเสรีภาพที่เท่าเทียมกัน ไม่ละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐาน และไม่เลือกปฏิบัติไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของเชื้อชาติ สัญชาติ ศาสนา ภาษา สีผิว เพศ อายุ การศึกษา สภาวะทางร่างกาย หรือสถานะทางสังคม รวมถึงจัดให้มีการดูแลไม่ให้ธุรกิจของบริษัทฯ และบริษัทย่อยเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนทั้งทางตรงและทางอ้อม

  4. การปฏิบัติต่อพนักงานอย่างเป็นธรรม

    ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และปฏิบัติต่อพนักงานอย่างเป็นธรรม ให้ความสำคัญกับการเคารพสิทธิของพนักงานตามหลักสิทธิมนุษยชน และยังเปิดโอกาสให้พนักงานสามารถแสดงความคิดเห็น หรือร้องเรียนเกี่ยวกับการปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม

  5. ความรับผิดชอบต่อลูกค้าและผู้บริโภค

    ปฏิบัติต่อลูกค้าอย่างเป็นธรรม โดยไม่เลือกปฏิบัติ และไม่เปิดเผยข้อมูลของลูกค้า มุ่งมั่นในการสร้างความพึงพอใจ และความมั่นใจให้กับลูกค้า ภายใต้ความปลอดภัยและเทคโนโลยีที่เหมาะสม

  6. การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม

    ให้ความสำคัญในเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ รวมถึงการลดก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas) โดยส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ตระหนักถึงความปลอดภัยของสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม

  7. การร่วมพัฒนาชุมชนหรือสังคม

    สนับสนุนการจัดกิจกรรมและปลูกจิตสำนึกด้านความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมขับเคลื่อนสังคมไทยให้มีการพัฒนาด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน

  8. การมีนวัตกรรม

    สนับสนุนให้มีนวัตกรรมทั้งในระดับกระบวนการทำงานในองค์กร และในระดับความร่วมมือระหว่างองค์กร ซึ่งหมายถึงการทำสิ่งต่างๆ ด้วยวิธีใหม่ๆ การเผยแพร่นวัตกรรมถือเป็นความรับผิดชอบต่อสังคม โดยการสื่อสารและเผยแพร่ให้กับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรับทราบทั้งทางตรงและทางอ้อม

บริษัทฯ ได้ดำเนินกระบวนการระบุประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนที่ผู้มีส่วนได้เสียทั้งภายในและภายนอกให้ความสำคัญและพิจารณาปัจจัยภายนอกและภายในที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจรวมถึงปัจจัยความเสี่ยง และเปิดเผยข้อมูลผลการดำเนินงานตามประเด็นด้านความยั่งยืนที่มีนัยสำคัญ ครอบคลุมทั้ง 3 มิติ ได้แก่ มิติสิ่งแวดล้อม มิติสังคม และมิติบรรษัทภิบาลและเศรษฐกิจ

ขั้นตอนที่ 1 การระบุประเด็นด้านความยั่งยืนที่เกี่ยวข้อง

โดยพิจารณาความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย ประเด็นที่เกี่ยวของในอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ รวมถึงความเสี่ยงอุบัติใหม่และแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของโลก

ขั้นตอนที่ 2 การจัดลำดับประเด็นสำคัญ

ผ่านการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อหารือร่วมกับคณะทำงานด้านความยั่งยืนและสิ่งแวดล้อม รวมถึงพิจารณาผลจากแบบสำรวจความคิดเห็นและประเด็นที่ผู้มีส่วนได้เสียให้ความสำคัญ

ขั้นตอนที่ 3 การทวนสอบประเด็นสำคัญ

โดยนำเสนอประเด็นสำคัญ ด้านความยั่งยืนต่อผู้นำองค์กร/คณะกรรมการบรรษัทภิบาลและความยั่งยืน เพื่อพิจารณาและให้ความเห็นชอบ สอดคล้องกับบริบท เป้าหมาย และกลยุทธ์ของบริษัทฯ

ขั้นตอนที่ 4 การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

ทบทวนการเปิดเผยข้อมูลในรายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืนแบบบูรณาการอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนรวบรวมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง

ประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนทั้ง 7 ประการ

ในปี 2565 บริษัทมีประเด็นการพัฒนาอย่างยังยืนที่มีความสำคัญ 7 เรื่อง โดยมีรายละเอียดตามตารางดังนี้

มิติด้านความยั่งยืน ประเด็นสาระสำคัญ ผลกระทบ/ความสำคัญ กลยุทธ์ SDGs GRI
มิติสิ่งแวดล้อม 1. การจัดการก๊าซเรือนกระจก ผลกระทบด้านชื่อเสียง สอดคล้องกับเทรนด์กลุ่มผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อม ขับเคลื่อนตั้งแต่ระดับนโยบายพร้อมจัดตั้งคณะทำงานเรื่องความยั่งยืนและสิ่งแวดล้อม
  • Emissions (GRI 305)
  • Energy (GRI 302)
มิติสังคม 2. การดูแลและพัฒนาบุคลากร ผลกระทบด้านการดำเนินงาน เพราะพนักงานมีส่วนสำคัญในการพัฒนาองค์กร สร้างวัฒนธรรมองค์กรเพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และเพิ่มศักยภาพตรงตามความเหมาะสมของแต่ละบุคคล
  • Employment (GRI 401)
  • Training & Education (GRI 404)
  • Diversity & Equal Opportunity (GRI 405)
  3. การเคารพสิทธิมนุษยชนและปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรม ผลกระทบด้านการดำเนินงาน กรณีที่คู่ค้าเกิดความเสี่ยงด้านการละเมิดสิทธิมนุษยชน อาจส่งผลให้บริษัทจำเป็นต้องหาคู่ค้ารายใหม่ การปฏิบัติตามนโยบาย รวมถึงส่งเสริมให้คู่ค้าปฏิบัติตามข้อกำหนดจรรยาบรรณร่วมกัน
  • Forced and Compulsory Labor (GRI 409)
  • Non-discrimination (GRI 406)
  • Human Right Assessment (GRI 412
  4. ความปลอดภัย อาชีวอนามัย ผลกระทบด้านชื่อเสียง หากเกิดความไม่ปลอดภัยในการก่อสร้าง กำหนดเป็นมาตรการความปลอดภัยโดยเฉพาะในไซส์ก่อสร้าง ตั้งแต่ก่อนก่อสร้าง ระหว่าง และหลังก่อสร้าง พร้อมทั้งมีการติดตามและรายงานผลอย่างสม่ำเสมอ
  • Occupational Health & Safety (GRI 403)
  5. สร้างสรรค์ประสบการณ์ที่ดีแก่ลูกค้า ผลกระทบด้านชื่อเสียง ยึดหลักการบริการทั้ง 9 ใจ (BRI HEARTMADE)
  • Stakeholder Engagement (GRI 102-43)
  • Non-discrimination (GRI 406)
  • Customer Privacy (GRI 418)
  6. สร้างสังคมคุณภาพให้กับชุมชนและสังคม ส่งต่อภาพลักษณ์ของแบรนด์ มุ่งเน้นการสร้างการมีส่วนร่วมขอพนักงาน ลูกบ้าน ชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการดำเนินงานเพื่อพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม Local Community (GRI 413-1)
มิติบรรษัท ภิบาลและเศรษฐกิจ 7. การกำกับดูแลกิจการที่ดี ผลกระทบด้านชื่อเสียง ของความโปร่งใสในการดำเนินงาน ดำเนินธุรกิจอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ ตามหลักของจรรยาบรรณธุรกิจ และสอดคล้องตามเกณฑ์ของ CGR โดยสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย
  • Ethics & Integrity (GRI 102-17)
  • Supplier Environmental Assessment (GRI 308)
  • Supplier Social Assessment (GRI 414)